เมนู

เข้าไปสงบ เงียบ ดับ ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เรากล่าว
บุคคลนั้น....ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ.

ว่าด้วยกาม 2


[423] โดยอุทานว่า กาม ในคำว่า ผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย
กามมี 2 อย่าง คือ วัตถุกาม 1 กิเลสกาม 1 ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า
วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่ากิเลสกาม บุคคลนั้นกำหนดรู้วัตถุ
กามแล้ว ละ สละ บรรเทา ทำให้สิ้นให้ถึงความไม่มีในภายหลังแล้ว
ซึ่งกิเลสกาม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลาย คือเป็นผู้ปราศจาก สละ
สำรอก ปล่อย ละ สละคืนกามเสียแล้ว เป็นผู้ปราศจาก สละ สำรอก
ปล่อย ละ สละคืนราคะเสียแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว
เสวยสุข มีตนเป็นดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เพ่งในกาม
ทั้งหลาย.

ว่าด้วยเครื่องร้อยรัด 4 อย่าง


[424] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า กิเลสเครื่อง
ร้อยรัดทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
คือกิเลสเครื่องร้อยรัด 4 อย่าง
ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตต-
ปรามาส อิทังสัจจาภินิเวส (ความถือมั่นว่าสิ่งนี้จริง) ความกำหนัดใน
ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา ความ
อาฆาต ความไม่ยินดี ในวาทะของชนเหล่าอื่น. ชื่อว่า กิเลสเครื่อง
ร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความยึดถือศีลหรือพรต หรือศีลและพรต

ของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส
ทิฏฐิของตน. ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออิทังสัจจาภินิเวส.
คำว่า นั้น ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด
ทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย
ย่อมไม่มี คือมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นกิเลสอันบุคคล
นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น.

ว่าด้วยตัณหามีชื่อต่าง ๆ


[425] คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าวิสัตติกาแล้ว
ความว่า ตัณหาเรียกว่าวิสัตติกา ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่า
อะไร ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา. เพราะอรรถว่า ซ่านไป เพราะอรรถว่า แผ่
ไป เพราะอรรถว่า แล่นไป เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ เพราะอรรถว่า
ครอบงำ เพราะอรรถว่า สะท้อนไป เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด
เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษ เพราะ
อรรถว่า มีเครื่องบริโภคเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
สกุล คณะ อาวาส ฯลฯ แล่นไป ซ่านไปในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยิน
กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ตัณหา
จึงชื่อว่า วิสัตติกา. คำว่า บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหาอันชื่อว่าสัตติกาแล้ว